เมนู

ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโต-
ปริยญาณ แก่อนาคตตังสญาณ แก่อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.
[1920] 3. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปันนธรรม
ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย

คือ บุคคลย่อมพิจารณาเห็น จักษุที่เป็นปัจจุปปันนธรรม ฯลฯ กายะ
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันน-
ธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักษุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ.
รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็น
ปัจจัยแก่กายวิญญาณ.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิญญาณ แก่
อาวัชชนะ ด้วยอำนาจของอารัมมณปัจจัย.

3. อธิปติธรรม


[1921] 1. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ
บุคคลกระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.

บุคคลออกจากฌาน การทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
พิจารณา.
พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่นแล้ว พิจารณา, กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา.
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นอตีตธรรม
ฯลๆ กายะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น
อดีตธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
[1922] 2. อนาคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มีอย่างเดียว คือ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นอนาคต-
ธรรม ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคตธรรมให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว
ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
[1923] 3. ปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม
ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณาธิปติ และ สหชาตาธิปติ
ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้เเก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักษุที่เป็นปัจจุป-
ปันนธรรม ฯลฯ หทยวัตถุ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุปับนนธรรมให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ครั้นกระทำจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก
แน่นแล้ว ราคะ ย่อมเกิดขึ้น ทิฏฐิ ย่อมเกิดขึ้น.
ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่
อธิติธรรมที่เป็นปัจจุปปันนธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอธิปติปัจจัย.

4. อนันตรปัจจัย


[1924] 1. อตีตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปัจจุปปันนธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอตีตธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นปัจจปปันนธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ โคตรภู.
อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ โวทาน.
โคตรภู เป็นปัจจัยแก่ มรรค.
โวทาน เป็นปัจจัยแก่ มรรค.
มรรค เป็นปัจจัยแก่ ผล.